โปรแกรม Dspace เป็นโปรแกรมประเภท Open Source (นำไปใช้งานได้ฟรีในระดับหนึ่ง หรือตามเงื่อนไข และข้อตกลงของผู้พัฒนาโปรแกรม มีรูปแบบมาตรฐานในการจัดเก็บข้อมูล Metadata แบบ Dublin Core โดยกำหนดดัชนีต่าง ๆ ของข้อมูลเพื่อใช้ในการค้นหาเอกสารที่ถูกแปลงในรูปแบบของดิจิทัล) ใช้สำหรับจัดทำคลังข้อมูลหรือคลังสารสนเทศเพื่อเก็บ ผลงานทางวิชาการของบุคลากร คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา วิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ บทความวิจัย รายงานการวิจัย เอกสารการประชุม เอกสารการสัมมนา เอกสารการสอน หนังสือ คู่มือปฏิบัติงาน สื่อมัลติมีเดีย (ไฟล์วีดีโอ / ไฟล์เสียง / ไฟล์ภาพ) เป็นต้น ที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรูปแบบการทำงานที่หลากหลาย ที่ช่วยจัดการเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ การบันทึกและนำข้อมูลเข้าระบบผ่านแบบฟอร์มอัตโนมัติ การกำหนดผู้ดูแลระบบ ผู้นำเข้าข้อมูล ผู้ตรวจสอบ แก้ไขข้อมูล ให้กับ Metadata ของทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ การควบคุมการเข้าถึง ใช้งานทรัพยากรออนไลน์ การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศผ่านทางออนไลน์
กล่าวโดยสรุป โปรแกรม Dspace มีข้อดีหลายอย่าง เบื้องต้นดังนี้
- เป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ผลงานทางวิชาการของบุคลากร คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา วิทยานิพนธ์ บทความวิชาการ บทความวิจัย รายงานการวิจัย เอกสารการประชุม เอกสารการสัมมนา เอกสารการสอน หนังสือ คู่มือปฏิบัติงาน สื่อมัลติมีเดีย (ไฟล์วีดีโอ / ไฟล์เสียง / ไฟล์ภาพ เป็นต้น ซึ่งรวมอยู่ในแหล่งเดียวกัน ทำให้สะดวกต่อผู้ใช้บริการในค้นหา
- สามารถทำงานร่วมกับคลังข้อมูลประเภทอื่น ๆ ได้ (ศึกษาเพิ่มเติมในหัวข้อ OAI-PMH )
- สามารถเผยแพร่ผ่านทางระบบออนไลน์ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานได้ตลอดเวลา จากทุกสถานที่
- มีตัวช่วยสืบค้นข้อมูลทำให้สะดวกและง่ายต่อการค้นหา
- มีเลขเฉพาะในการกำกับข้อมูลของทรัพยากรแต่ละรายการ ทำให้สะดวกต่อการเข้าถึงทรัพยากรที่ต้องการ
- มีตัวช่วยจัดการที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดและแบ่งสิทธิในการดูแล จัดการข้อมูล (Metadata)
- มีความร่วมมือกับกูเกิล (Google) ซึ่งผู้ใช้กูเกิลสามารถสืบค้นมายังคลังข้อมูลของ Dspace ได้
- มีระบบการรักษาความปลอดภัย สามารถกำหนดชื่อ รหัสผ่าน และสิทธิ์ให้กับผู้ใช้งานในการเข้าใช้ระบบ
ข้อจำกัดในการใช้งาน ได้แก่
- เนื่องจากเป็นโปรแกรมประเภท open source ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีความรู้เฉพาะในหลายด้าน ได้แก่ ระบบปฏิบัติการที่เลือกใช้งาน การติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกับ โปรแกรม Dspace และการปรับแต่งค่าการใช้งานของโปรแกรมทั้งก่อนและหลังการติดตั้ง ซึ่งมีความยากในการแก้ไข
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรม Dspace (Researching about Dspace Software)
กุสลวัฒน์ คงประดิษฐ์. (๒๕๕๗). สถานภาพและปัญหาแพลตฟอร์ม DSpace ที่คลังหน่วยเก็บถาวร สถาบันในประเทศไทยใช้. ชลบุรี: ภาควิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา.
http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/2559_070.pdf
ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านงานวิจัยชิ้นนี้ของท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์กุสลวัฒน์ คงประดิษฐ์
เห็นว่ามีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งในการเริ่มต้น สำหรับผู้ที่ยังไม่มีความรู้ หรือไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร
หากต้องการจัดทำคลังของสถาบัน ซึ่งโปรแกรม Dspace คงเป็นตัวอย่างหนึ่งของกรณีศึกษา
ในงานวิจัยชิ้นนี้
ท่านได้กล่าวถึงมุมมองในหลายๆ ด้าน ของการนำโปรแกรม Dspace มาใช้ในการจัดทำคลังหน่วยเก็บถาวรสถาบัน (Institutional Repository)
ทั้งนี้ท่านได้นำเสนอแนวทางปฏิบัติรวมถึงตัวอย่างการใช้งานไว้อย่างชัดเจน และมีความครบถ้วน
References:
http://www.stks.or.th/th/knowledge-bank/28/227.html
http://kmlibrary.bu.ac.th/index.php?view=article&id=161
Key: Dspace Guide, Dspace Installation, ติดตั้ง dspace, install dspace, Institutional Repository, ir, คลังข้อมูล, คลังสารสนเทศ, คลังสถาบัน, คลังเอกสาร
No comments:
Post a Comment